คำขวัญ

เมืองพระยารัษฎา : The cilt of Phraya Rasda
ชาวประชาใจกว้าง: broad hearted citizen
เมืองย่างรสเลิส: delicious roast pork
ถิ่นกำเนิดยางพารา: origin place of para rubber
เด่นสง่าดอกศรีตรัง: lovely Sri Trang Flower
ปะการังใต้ทะเล:beavtiful coral reef
เสน่หืหาดทรายงาม: Chamming Sandy beach
นำตกสวยตระการตา and wonderful watefalls

ประวัติจังหวัดตรัง

จังหวัดตรัง เป็นจังหวัดหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันตก ซึ่งตั้งขึ้นใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์ จึงไม่มีประวัติในสมัยโบราณก่อนหน้านั้น และเข้าใจว่าในแผ่นดินพระบรมไตรโลกนารถครั้นกรุงศรีอยุธยานั้น เมืองตรังยังไม่มี เพราะพระธรรมนูญกล่าวถึงหัวเมืองฝ่ายใต้มีเพียง นครศรีธรรมราช พัทลุง ไชยา เพชรบุรี กุย ปราณ ครองวาฬ บางสะพาน ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า ตะนาวศี ทะวาย มะริด และสามโคก ดังนั้นเมืองตรังแต่เดิมมา น่าจะเป็นเพียงทางผ่านไปยังเมืองนครศรีธรรมราช และเมืองพัทลุงเท่านั้น ต่อมาเมื่อผู้คนตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนมากขึ้นจึงเกิดเมืองในตอนหลัง
เท่าที่พบหลักฐานความเป็นมาของจังหวัดตรัง เริ่มแรกได้จากศิลาจารึกที่วัดเสมาเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งได้จารึกโดยพระเจ้าจันทรภาณุ หรือพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชที่ ๕ ในปี พ.ศ. ๑๗๗๓ ซึ่งเป็นสมัยที่เมืองนครศรีธรรมราชเจริญรุ่งเรืองมาก ได้จารึกว่าอาณาจักรนครศรีธรรมราชมีหัวเมืองรายล้อมอยู่ถึง ๑๒ หัวเมือง ได้กำหนดใช้รูปสัตว์ตามปีนักษัตรเป็นตราประจำเมือง เรียกว่าการปกครองแบบ ๑๒ นักษัตร โดยเมืองตรังใช้ตราม้า (ปีมะเมีย) เป็นตราประจำเมือง
แสดงว่าในปี พ.ศ.๑๗๗๓ มีเมืองตรังแล้วแต่ไม่ทราบว่าตั้งเมืองอยู่ที่ใด ในพงศาวดารเมืองพัทลุงกล่าว ว่าเมื่อปี พ.ศ.๑๔๙๓ พระยากุมารกับนางเลือดขาวไปลังกา ทั้งขาไปและขามาได้แวะที่เมืองตรัง เพราะเป็น เมืองท่า นางเลือดขาวยังได้สร้างพระพุทธรูปและวัดพระพุทธสิหิงค์ไว้ที่เมืองตรัง
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี เมืองตรังมีชื่อเป็นหัวเมืองที่ขึ้นต่อเมืองนครศรีธรรมราช ครั้น ถึงปี พ.ศ.๒๓๔๗ รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์โปรดฯ ให้ยกเมืองตรังขึ้นตรงกับกรุงเทพฯ ชั่วคราว เนื่องจากผู้รักษาเมืองตรังเป็นอริกับเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช หลังจากนั้นให้ไปขึ้นกับเมืองสงขลาระยะ หนึ่ง จนถึง พ.ศ.๒๓๕๔ จึงกลับไปขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราชดังเดิม และได้มีการตั้งเมืองตรังขึ้นเป็นครั้งแรกโดยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย ทรงแต่งตั้งพระอุไภยธานีเป็นเจ้าเมืองตรังคนแรก และได้มีการสร้างหลักเมืองตรังไว้ที่ ควนธานี
พ.ศ.๒๓๘๑ ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ เกิดเหตุการณ์วุ่นวายขึ้น ทางเมืองตรังและหัวเมืองปักษ์ใต้หลายเมือง ต่อมาจึงได้โอนเมืองตรังมาขึ้นต่อกรุงเทพฯ อยู่ภายใต้การดูแลของข้าหลวงใหญ่หัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันตก ซึ่งตั้งกองบัญชาการอยู่ที่เมืองตรังจนถึง พ.ศ.๒๔๒๘ เมืองตรังจึงได้กลับไปอยู่ภายใต้การดูแลของข้าหลวงใหญ่ซึ่งตั้งกองบัญชาการอยู่ที่ภูเก็ต และเมื่อมีการปฏิรูปการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาลเมืองตรังจึงถูกรวม เข้าเป็นหัวเมืองหนึ่งของมณฑลภูเก็ต
ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสหัว เมืองปักษ์ใต้ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๓ ทรงเห็นเมืองตรังมีสภาพทรุดโทรม จึงทรงโปรดฯ ให้พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) มาดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองตรัง และสร้างความเจริญให้แก่ตรังอย่างมากมาย โดยย้ายเมืองตรังมาตั้งที่ อำเภอกันตัง ปากแม่น้ำตรัง โดยรวมเอาเมืองตรังและปะเหลียนเข้าด้วยกัน และพัฒนาเป็นเมืองท่าการค้าและยังได้ส่งเสริมให้มีการปลูกยางพาราที่จังหวัดตรังเป็นแห่งแรก
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าที่ตั้งตัวเมืองตรังเดิม คือ เมืองกันตังไม่ปลอดภัยจากศัตรู ไม่เป็นศูนย์กลางของจังหวัด ทั้งยังเป็นที่ลุ่มมาก น้ำทะเลท่วมถึง จะขยายตัวเมืองได้ยาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองไปตั้งที่ตำบลทับเที่ยง อำเภอบางรัก ซึ่งเป็นที่ตั้งของอำเภอเมืองตรังมาจนทุกวันนี้ และเมื่อมีการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๔๗๖ เมืองตรังจึงมีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยครับ

เกาะสุกร


ตั้งอยู่ในเขตอำเภอปะเหลียน ห่างจากชายฝั่งประมาณ 3 กม. ทางทิศใต้ของแหลมตะเส๊ะ
ลักษณะ เป็นเกาะขนาดใหญ่ มี 4 หมู่บ้าน จำนวนประชากรบนเกาะประมาณ 400 หลังคาเรือน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีอาชีพประมงพื้นบ้าน ทำสวนยางและเกษตรกรรม นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ใช้เกาะสุกรเป็นที่พักผ่อน

จุดเด่น บรรยากาศสงบ ชาวบ้านมีความเป็นมิตร หาดทรายสวยงาม แตงโมอร่อย

การเดินทาง จากตัวเมืองตรัง โดยสารรถตู้ปรับอากาศตรัง-ปะเหลียน สู่ท่าเรือท่าข้าม มีเรืออกจากท่าเรือวันละ 2 เที่ยว คือ เวลา 10.00 น. และ 14.00 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 40 นาที หรือไปลงเรือที่แหลมตะเส๊ะ กิ่งอ.หาดสำราญ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 30 นาที โดยเช่าเหมาเรือไปเอง บนเกาะสุกรมีรถมอเตอร์ไซค์บริการ ราคาตามระยะทาง

เกาะมุก

ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอุทยานแห่งชาติเจ้าไหม ตั้งอยู่ในท้องที่ต.เกาะลิบง ห่างจากท่าเรือควนตุ้งกูประมาณ 9 กม. เป็นเกาะที่มีความใหญ่เป็นอันดับ 3 ของจังหวัดตรัง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นโขดผาสูงหันหน้าออกสู่ทะเลทางด้านทิศตะวันตก เป็นที่อาศัยของนกนางแอ่น มีหมู่บ้านประมงอยู่ทางฝั่งตะวันออกของเกาะ ซึ่งเป็นแหลม พื้นที่ราบหันหน้าเข้าหาแผ่นดินใหญ่ มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 1500 คน เป็นมุสลิมประมาณ 80% อาชีพหลักของคนบนเกาะ ได้แก่ ประมงพื้นบ้าน โดยเฉพาะลอบหมึก ที่เกาะมุกยังมีการดำหาหอยมุกกันบ้าง บนเกาะมีเส้นทางเดินลัดเลาะไปตามบ้านเรือน สามารถเดินชมวิถีชาวเกาะมุกได้เกือบรอบเกาะ

จุดเด่น มีถ้ำมรกตที่มีความสวยงามติดอันดับโลกอยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะ

การเดินทาง จากตัวเมืองตรังสู่ท่าเรือปากเมง จากท่าเรือปากเมงต้องเช่าเหมาเรือไปเอง หรือโดยสารรถตู้ปรับอากาศสายตรัง-ควนตุ้งกู ต.บางสัก จากท่าเรือควนตุ้งกู มีเรือโดยสารไปยังเกาะมุกวันละหนึ่งเที่ยว เวลา 08.00 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 30 นาที ค่าโดยสารเรือ คนละ 40 บาท หรือเช่าเหมาลำเรือหางยาวไปเอง จากเกาะมุกมีเรือเมล์ออกจากท่าเรืออ่าวพังกา

เกาะหลาวเหลียง


ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของหาดสำราญและแหลมตะเส๊ะ ประมาณ 17 กิโลเมตร มีสองเกาะ คือ เกาะหลาวเหลียงเหนือและเกาะหลาวเหลียงใต้ เป็นภูเขาหินปูน มีหน้าผาสูงโดยรอบ ด้านหน้าทางตะวันออกมีหาดทราย เป็นแหลม ไม่กว้าง หน้าเกาะหลาวเหลียงใต้เป็นที่พักหลบคลื่นลมของชาวประมงและที่พักของคนเฝ้ารังนกนางแอ่น เพราะเป็นเกาะสัมปทานรังนกนางแอ่น การเข้าไปเที่ยวบางจุดต้องขออนุญาตผู้เฝ้ารังนกเสียก่อน โดยเฉพาะในช่วงเดือน มี.ค. มิ.ย. และ พ.ย.
ปัจจุบัน มีบริษัททัวร์ชื่อ xsitediving สำนักงานสาขาตรังอยู่ที่ ท่าเรือหมู่บ้านหาดเจ้าไหม เป็นผู้ประกอบการรายเดียวบนเกาะ เป็นผู้ดูแลกิจการท่องเที่ยวบนเกาะ จะเปิดบริการให้นักท่องเที่ยวเข้าเที่ยวได้เฉพาะเดือน พ.ย.-พ.ค.เท่านั้น

จุดเด่น เกาะหลาวเหลียงใต้มีชายหาด น้ำใส และแนวปะการังที่สวยงาม ปัจจุบันเริ่มเป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติ

การเดินทาง จากตัวเมืองตรังสู่บ้านปากปรน หรือแหลมตะเส๊ะ มีเรือหางยาวบริการ ในราคาย่อมเยา ควรติดต่อผ่านบริษัท เอกไซต์ไดวิ่งทัวร์ หรืออาจติดต่อบริษัทนำเที่ยวตรังทัวร์

เกาะม้า


ถ้าพูดถึงทะเลตรังหากท่องเที่ยวชายหาดต้องยกให้เกาะกระดานเพราะมีชาดทรายที่สวยงามมาก แต่ถ้าพูดถึงการดำน้ำตื้นชมปะการังอ่อนต้องยกให้้เกาะม้า ที่มีปะการังอ่อนให้ชมในระดับน้ำตื้นๆ และปาการังอ่อนรุ่นใหม่ที่เพิ่งโตมีอยู่เป็นจำนวนมาก คาดว่าว่าอีกไม่นานใต้พื้นน้ำบริเวณนี้จะงดงามไปด้วยปะการังอ่อนหลากสี โดยปกติแล้วการชมปะการังอ่อนต้องดำน้ำแบบ scuba หรือการดำน้ำลึก หรือไม่ก็ต้องไปดำน้ำตื้นที่ร่องน้ำจาบังที่หมู่เกาะตะรุเตาโน่น แต่ที่นี่มีให้ชมอยู่ใกล้ๆ ค่าใช้จ่ายน้อยนิด ที่เกาะม้าปะการังอ่อนสวย
เกาะม้าเป็นเกาะไม่มีชายหาด ดูเหมือนแท่งหินตั้งโด่อยู่กลางน้ำ เป็นหนึ่งในหลายๆ เกาะของทะเลตรัง อยู่ห่างฝั่งท่าเรือปากเมงประมาณ 12 กิโลเมตรเศษ จุดดำน้ำชมปะการังอยู่บริเวณด้านซ้ายของเกาะ สังเกตในภาพจะเห็นเรือสีขาวจอดอยู่

จุดเด่น เกาะม้ามีปะการังอ่อนที่สวยงามแม้น้ำตื้น กระแสน้ำไม่แรงเหมือนที่เกาะเชือก
นอกจากปะการังอ่อนแล้วยังมีดอกไม้ทะเลและปลาการ์ตูนนีโมส้มเหลืองให้ชมอีกด้วย

การเดินทาง จากตัวเมืองตรังสู่ท่าเรือปากเมง หรือท่าเรือบ้านเจ้าไหม มีเรือหางยาว ให้เช่าเหมาลำในราคาประมาณ 1500-2500 บาท แล้วแต่ขนาดเรือ (ควรจะมีสมาชิกประมาณ 5-8 คน) ถ้าสมาชิกน้อยคนควรจะซื้อแพ็คเก็จทัวร์ จากบริษัทนำเที่ยวจะประหยัดกว่าการเช่าเรือไปเอง ติดต่อสอบถามได้ที่ในเมืองตรัง ลิบงการท่องเที่ยว ตรังทัวร์ หรืออันดามันซีทัวร์ที่ท่าเรือปากเมง หรือ เลตรังทราเวิล ที่ร้านอาหารเลตรัง ใกล้ๆ กับท่าเรือ

เกาะเชือก


ตั้งอยู่ระหว่างเกาะมุกและเกาะไหง ทางด้านทิศตะวันตกของท่าเรือปากเมง ระยะทางประมาณ 12 กม. โดยมีเกาะม้าอยู่ทางเหนือ เกาะเชือกอยู่กลาง ห่างจากเกาะไหงประมาณ 4 กม. และเกาะแหวนอยู่ด้านใต้ เกาะเชือก เป็นเกาะขนาดเล็ก 3 เกาะติดกัน ลักษณะเป็นเขาหินปูนมีหน้าผารอบเกาะ บริเวณนี้มีกระแสน้ำเชี่ยวมากการดำน้ำดูปะการังต้องเกาะเชือกเพื่อพะยุงตัว
เกาะแหวน เป็นเกาะขนาดเล็ก ล้อมรอบด้วยหน้าผาหินปูน มองคล้ายหัวแหวน ทั้งสามเกาะเป็นสัมปทานรังนก ไม่มีเรือนผู้คนอาศัย

จุดเด่น เป็นแหล่งปะการัง 7 สี และกัลปังหา เป็นจุดดำน้ำที่สวยที่สุดของทะเลตรัง มีฝูงปลาสวยงามนานาชนิดเป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยว เกาะเชือกมีปะการังอ่อนหลากสี เกาะแหวนมีกัลปังหา ปะการังแข็ง

การเดินทาง จากตัวเมืองตรังสู่ท่าเรือปากเมง หรือท่าเรือบ้านเจ้าไหม มีเรือหางยาว ให้เช่าเหมาลำในราคาประมาณ 1000-2000 บาท แล้วแต่ขนาดเรือ (ควรจะมีสมาชิกประมาณ 5-8 คน) ถ้าสมาชิกน้อยคนควรจะซื้อแพ็คเก็จทัวร์ จากบริษัทนำเที่ยวจะประหยัดกว่าการเช่าเรือไปเอง ติดต่อสอบถามได้ที่ในเมืองตรัง ลิบงการท่องเที่ยว ตรังทัวร์ หรืออันดามันซีทัวร์ที่ท่าเรือปากเมง หรือ เลตรังทราเวิล ที่ร้านอาหารเลตรัง ใกล้ๆ กับท่าเรือ

หายหยงหลิง - หาดสั้น


เป็นหาดทรายรูปโค้งขนานไปกับดงสน สุดชายหาดเป็นเขาสูงมีเวิ้งและโพรงถ้ำ สามารถลอดออกไปสู่หน้าผาริมทะเลที่มีโพรงถ้ำและโขดหินเหมือนป้อมโอบล้อมลานทรายไว้สวยงามมาก เหมาะที่จะเล่นน้ำและพักผ่อนหย่อนใจ บริเวณหาดสามารถกางเต็นท์ได้

การเดินทาง ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 4046–4162 ถึงหาดปากเมงเลี้ยวซ้ายเลียบชายหาดประมาณ 10 กิโลเมตร และเลี้ยวเข้าถนนบ้านน้ำราบ-หาดเจ้าไหม ประมาณ 6 กิโลเมตร จะมีทางแยกเข้าหาดหยงหลินอีกประมาณ 2 กิโลเมตร หรือโดยสารรถตู้สายตรัง-หาดยาว จะผ่านหน้าหาดหยงหลิน-หาดสั้น

เกาะไห

ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของท่าเรือปากเมง ระยะทางประมาณ 15 กม. เป็นแหล่งท่องเที่ยวอยู่ในทะเลตรัง แต่พื้นที่ขึ้นอยู่กับอุทยานฯหมู่เกาะลันตา จ.กระบี่ เกาะไหงเป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานฯที่ ลต.1 บนเกาะเป็นป่าดิบชื้นและป่าชายหาด เป็นที่อยู่ของนกนานาชนิด

จุดเด่น รอบเกาะมีชายหาดและแนวปะการัง เหมาะสำหรับลงเล่นน้ำและชมปะการัง

การเดินทาง จากท่าเรือปากเมงมีเรือทัวร์โดยสาร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง และมีเรือบริการ ให้เช่าเหมาหลายขนาด หรือติดต่อผ่านบริษัททัวร์จากตัวเมือง ได้แก่ ลิบงการท่องเที่ยว ตรังทราเวิล ตรังทัวร์ และ เคเคทัวร์ หรือจากท่าเรือปากเมง สามารถติดต่อได้ที่ ร้านเลตรัง หรืออันดามันซีทัวร์

หาดยาว

อยู่หมู่ที่ 6 ตำบลเกาะลิบง เป็นหาดทรายยาวต่อจากโขดเขารูปกระโดงฉลามขึ้นมาทางด้านเหนือ มีสนทะเลขึ้นเป็นแนวดูสวยงาม มีชายหาดกว้างเหมาะจะเข้าค่ายพักแรม และมีบริการที่พักของเอกชน จากหาดยาวนักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือไปเที่ยวตามเกาะต่าง ๆ

จุดเด่น เป็นหาดที่น่าเล่นน้ำที่สุดของชายหาดทะเลตรัง ทะเลมีความลาดเอียงพอเหมาะ เหมาะสำหรับเป็นที่เล่นน้ำพักผ่อนของผู้ใหญ่และเด็กโตที่สุด สามารถตั้งแคมป์พักแรมริมหาดได้

การเดินทาง ใช้เส้นทางเดียวกับหาดหยงหลิง และมีรถตู้ประจำทางสายตรัง-หาดยาว ให้บริการ ขึ้นรถได้ที่ถนนท่ากลาง อำเภอเมือง

เกาะลิบง


เกาะลิบง ได้รับการประกาศเป็นเขตห้ามล่าพันธุ์สัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง รอบๆเกาะเต็มไปด้วยหญ้าทะเลที่เป็นอาหารของ “พะยูน” สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่กำลังจะสูญพันธุ์ แต่พบได้มากที่เกาะลิบงแห่งนี้ นอกจากนี้ยังมีแหลมและชายหาดที่สวยงามอยู่หลายแห่ง เช่น หาดตูบ แหลมจุโหย แหลมทวด แหลมโต๊ะชัย เป็นต้น บริเวณแหลมจุโหยนั้นเป็นหาดทราย ที่เวลาน้ำลงจะสามารถเดินเท้าไปถึงหาดตูบได้ ซึ่งในบริเวณนี้จะมีนกทะเลแล ะนกชายเลนจำนวนมากที่บินอพยพมาอาศัยในช่วงฤดูหนาว โดยเฉพาะในช่วงเดือนพฤศจิกายน – เดือนธันวาคม อาทิ นกกินเปี้ยว นกกวัก นกยางเขียว นกนางนวลแกลบเคราขาว และนกหัวโตขาดำ
เกาะลิบง มีชาวบ้านอาศัยอยู่หลายหมู่บ้าน ชาวบ้านที่มีมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย มีอาชีพทำการประมง สวนยางพารา โดยส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม นอกจากนี้บนเกาะยังมีเขามุกดา เป็นภูเขาหินปูนที่ความสูงประมาณ 200 เมตร บนภูเขามีจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นต้นหญ้าทะเลซึ่งเป็นอาหารของพะยูนได้ค่อนข้างชัดเจน หรืออาจจะเห็นตัวพะยูนที่มากินหญ้าทะเลได้ด้วย และนอกจากนี้จากเกาะลิบงยังสามารถมองเห็นหาดเจ้าไหมและแหลมเจ้าไหมได้

เกาะกระดาน

เกาะกระดาน เป็นเกาะที่สวยงามที่สุดในทะเลตรัง โดยส่วนของเกาะนี้อยู่ในความรับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ที่เหลือเป็นสวนยางและสวนมะพร้าวของเอกชนรวมทั้งร้านอาหารและที่พักที่เปิดบริการแก่นักท่องเที่ยว จุดเด่นของ เกาะกระดานคือมีหาดทรายที่ขาวละเอียดเนียนเหมือนแป้ง และน้ำทะเลที่ใสจนมองเห็นแนวปะการังซึ่งทอดยาว จากชายหาดด้านเหนือ จนถึงชายฝั่งและมีฝูงปลาทะเลหลากหลายสีที่แวกว่ายอยู่อย่างสวยงาม สำหรับนักท่องเที่ยวที่นิยมการโต้คลื่นนั้น ด้านหลังเกาะมีอ่าวเล็กๆที่มีคลื่นลูกโตม้วนสาดเข้าหาหาดเป็นระลอกๆเหมาะกับการเล่นกระดานโต้คลื่นมาก รอบเกาะมีชายหาดอยู่ 4 แห่ง ได้แก่ “ชายหาดเกาะกระดาน” มีชายหาดยาวประมาณ 2 กิโลเมตร บริเวณด้านหน้าของชายหาดนักท่องเที่ยวนิยมมาดำน้ำดูปะการังซึ่งทอดยาวตลอดแนวชายหาด จากหาดนี้สามารถมองเห็นเกาะลิบง เกาะแหวน เกาะมุก และเกาะเชือกได้อีกด้วย อีกทั้งยังเป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยงาม “ชายหาดอ่าวเนียง” หาดทรายมีความยาว 800 เมตร เป็นอีกจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมมาดำน้ำชมปะการัง “ชายหาดอ่าวไผ่” เป็นหาดทรายสีขาวแต่บริเวณด้านหน้าหาดไม่มีแนวปะการัง แต่สามารถชมความสวยงามของพระอาทิตย์ยามลับขอบฟ้าได้จากหาดนี้ “ชายหาดอ่างช่องลม” นักท่องเที่ยวสามารถเดินเท้าขึ้นเนินเพื่อชมพระอาทิตย์ตกได้ ซึ่งสามารถมองเห็นเกาะรอกได้อย่างชัดเจนด้วย